สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ชวนติดตาม 2 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ส่งท้ายเดือนสิงหาคม คือ "ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี"ในวันที่ 27 สิงหาคม2566 และ “ซูเปอร์บลูมูน ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” ระหว่างคืนวันที่ 30 ถึงเช้าวันที่ 31 สิงหาคม 2566 หากฟ้าใส ไร้ฝน สามารถดูด้วยตาเปล่าได้ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
"พิธา" ไม่ร่วมประชุม 8 พรรคร่วม คาดเคลียร์ "เพื่อไทย" ตำแหน่งประธานสภาฯ
โหวตนายก : ประชุมรัฐสภา จับตา "พิธา" ถูกโหวตเลือกนายก รอบ 2
"ยูเครน" โวย "รัสเซีย" นั่งประธาน คณะมนตรีมั่นคง UN
นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ (สดร.) เผยว่า ปรากฏการณ์ “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี” ในวันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม 2566 เป็นปรากฏการณ์ที่ดาวเสาร์โคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (Saturn Opposition) กล่าวคือดวงอาทิตย์ โลก และดาวเสาร์ จะเรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีโลกอยู่ตรงกลาง
ส่งผลให้ดาวเสาร์มีระยะใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี มีระยะห่างประมาณ 1,310 ล้านกิโลเมตร ซึ่งหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จะมองเห็นดาวเสาร์ปรากฏอยู่ทางทิศตะวันออก สังเกตได้ยาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้าคำพูดจาก สล็อตวอเลท
ถ้ามองผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยาย 30 เท่าขึ้นไป จะเห็นวงแหวนที่โดดเด่น ชัดเจน และหากใช้กำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไปจะมองเห็นแนวช่องว่างภายในวงแหวน เรียกว่า ช่องว่างแคสสินี ที่แบ่งระหว่างวงแหวนชั้น A และชั้น B ทั้งยังสามารถสังเกตเห็นดวงจันทร์ของดาวเสาร์ได้อีกด้วย
วันสารทจีนมีปรากฏการณ์ คือ “ซูเปอร์บลูมูน”
และอีกปรากฏการณ์ คือ “ซูเปอร์บลูมูน” โดยในคืนวันที่ 30 ถึงเช้าวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ดวงจันทร์จะมี 2 ปรากฎการณ์เกิดขึ้น ได้แก่ ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) หรือ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ซึ่งมีระยะห่างจากโลกประมาณ 357,334 กิโลเมตร และในคืนดังกล่าว เป็นคืนที่เกิดดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน หรือ บลูมูน (Blue Moon) จึงเรียกปรากฏการณ์ครั้งนี้ว่า ซูเปอร์บลูมูน (Super Blue Moon)ซึ่งปกติแล้วในหนึ่งเดือนจะเกิดดวงจันทร์เต็มดวงเพียงครั้งเดียวเท่านั้น และเกิดขึ้นสองครั้งไม่บ่อยนัก
ในคืนดังกล่าวดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย หากเปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงช่วงเวลาปกติ จะมีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 7% และความสว่างเพิ่มขึ้นประมาณ 15% เวลาที่เหมาะสมในการสังเกตปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงจันทร์ในครั้งนี้ คือช่วงเย็นวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:09 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้า ของวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ดูได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก นอกจากนี้ ยังมีดาวเสาร์ปรากฏสว่างเคียงข้างดวงจันทร์อีกด้วย
โดยทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติเตรียมจัดงานสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ในครั้งนี้ ตั้งแต่เวลา 18:00-22:00 น. ณ จุดสังเกตการณ์หลักทั้ง 4 แห่ง ได้แก่
- อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ : โทร. 084-0882261
- หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา : โทร. 086-4291489
- หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา : โทร. 084-0882264
- หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา : โทร. 095-1450411
หรือสามารถรับชมปรากฏการณ์ดังกล่าวผ่านทางไลฟ์สด เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ